วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

การเลือกซื้อรถยนต์

จะซื้อรถใหม่สักคัน ต้องคิดให้รอบคอบรถยนต์ไม่ใช่คันละบาทสองบาท ตัดสินใจผิดพลาดไปแล้วต้องมาปวดหัวกันทีหลังนั้น  ไม่ดี เรามีแนวทางการพิจารณาเลือกซื้อรถใหม่แบบกว้างๆ ให้ท่านพอสังเขป ดังนี้

1. งบประมาณที่มีอยู่ : จะซื้อรถหรือซื้ออะไรก็ตาม ก็ควรจะเหมาะสมกับกำลังที่มี มิใช่ซื้อมาแล้วต้องมามีชีวิตยากลำบาก หรือ  ซื้อมาได้ไม่นานก็ถูกยึดไป ในส่วนของงบประมาณมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ดังนี้
    - เงินสดที่ต้องใช้ : เงินสดสำหรับรถทั้งคันหรือ เงินดาว์น รวมทั้งค่าประกันภัย, ค่าทะเบียนและ ค่าอุปกรณ์ต่างๆ
    - เงินที่จะต้องผ่อนแต่ละเดือน : สำหรับท่านที่ซื้อรถเงินผ่อนซึ่งนอกจากเงินผ่อนแล้ว อย่าลืมค่าน้ำมันเชื้อเพลิง, ค่าบำรุงรักษาต่างๆ, ค่าประกันภัย และค่าทะเบียนปีต่อๆไปด้วย ( ใน Web site : www.phithan-toyota.com มีสูตรคำนวน เงินผ่อนแต่ละเดือนให้ด้วย ใช้สะดวกมาก)

2. วัตถุประสงค์ใช้งาน :
จะต้องถามตัวเองก่อนว่า เราซื้อรถมาใช้ประโยชน์อะไร มีการใช้งานปกติอย่างไร มีข้อจำกัดในการใช้งานอย่างไรบ้าง ฯลฯ เมื่อทราบแล้วจึงดูว่า ในตลาดรถยี่ห้อใดรุ่นใดบ้าง ที่เหมาะกับการใช้งานของท่าน โดยทั่วๆ ไปจะมี คำถามที่เกี่ยวกับการใช้งานดังนี้ 

    2.1 ใช้รถในกรุงเทพฯ หรือ ออกต่างจังหวัดเป็นส่วนมาก หรือ ทั้งสองอย่าง
          - รถสำหรับใช้ในกรุงเทพฯ มักเรียกกันว่า City Car เป็นรถที่มีขนาดกระทัดรัด มีความคล่องตัวสูง มีอัตราเร่งดีตอนออกตัว ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมากเป็นพิเศษ
          - รถใช้เดินทางต่างจังหวัด ควรเป็นรถขนาดกลางหรือใหญ่มีการทรงตัวดี เครื่องยนต์มีกำลังเร่งทั้งที่รอบต่ำและรอบสูง เป็นรถที่แข็งแรงทนทาน
    2.2 จำนวนผู้โดยสารประจำ
    2.3 ความจำเป็นต้องใช้บรรทุกของมากน้อย และบ่อยแค่ไหน
    2.4 ความจำเป็นต้องใช้การขับเคลื่อน 4 ล้อ โดยปกติแล้วรถขับเคลื่อน 4 ล้อ จะราคาสูงกว่า, สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง มากกว่า, มีค่าบำรุงรักษาสูงกว่า และ ซ่อมแพงกว่าซึ่งถ้าซื้อมาแล้วได้ใช้ประโยชน์คุ้มค่าก็ถือเป็นเรื่องดี และ ถ้าซื้อมาแล้ว ไม่ได้ใช้ขับเคลื่อน 4 ล้อเลย ก็ถือว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย
    2.5 ใช้ลุยน้ำท่วมหรือไม่ ถ้าต้องลุยน้ำท่วมก็ควรเป็นรถที่ยกสูงซึ่งมีทั้งขับเคลื่อน 4 ล้อและ ขับเคลื่อน 2 ล้อ
    2.6 อุปนิสัยการขับรถ ช้าหรือเร็ว ถ้าเป็นคนที่ขับรถช้า ขับไปเรื่อยๆ ก็คงไม่ต้องพิจารณาอะไรให้มากนัก แต่ถ้าเป็นคนที่ ชอบขับเร็วแล้วสมรรถนะเครื่องยนต์, ระบบช่วงล่าง, เกียร์, ระบบเบรก, ขนาดล้อและยาง, อุปกรณ์ความปลอดภัย ฯลฯ คงต้องนำมาพิจารณากันซึ่งถ้าจะให้มีครบ ก็ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น ครับ
    2.7 ความสะดวกสบายและหรูหรา ข้อนี้คงพิจารณาได้ง่ายเพราะขึ้นกับเงินในกระเป๋าเป็นหลัก
    2.8 ข้อจำกัดในการใช้งานอื่นๆ
        - ขนาดของประตูบ้าน, ที่จอดรถ และซอยเข้าบ้าน
        - ส่วนสูงของผู้ขับ
        - ความปลอดภัยของที่ที่จอดรถเป็นประจำ
        - ฯลฯ


3. การประหยัด
    3.1 อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง : รถที่ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง มักเป็นรถขนาดเล็ก , เครื่องยนต์ขนาดเล็ก , เครื่องยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่, ตัวถังออกแบบให้ลู่ลมมากกว่า, เครื่องยนต์ดีเซล มักจะมีอัตราสิ้นเปลือง น้ำมันเชื้อเพลิงน้อยกว่าเครื่องเบนซิน ฯลฯ
    3.2 ค่าบำรุงรักษา : หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถ เมื่อใช้งานถึงระยะทาง หรือ ระยะเวลาที่ผู้ผลิตได้กำหนดไว้ อาทิเช่น น้ำมันหล่อลื่นชนิดต่างๆ, ไส้กรองชนิดต่างๆ, หัวเทียน, สายพานต่างๆ, ยาง ฯลฯ รวมทั้งค่าแรง
    3.3 ค่าซ่อม : หมายถึง ค่าแรงและค่าอะไหล่ของชิ้นส่วนที่หมดอายุการใช้งานหรือชำรุดโดยทั่วไปมักมีการแยกอะไหล เป็นกลุ่มดังนี้
        - อะไหล่ลิ้นเปลือง หรือ อะไหล่ที่ต้องมีการเปลี่ยนบ่อยๆ เช่น ผ้าเบรก, ยางปัดน้ำฝนอะไหล่ ที่เปลี่ยนเมื่อใช้งานครบระยะทาง หรือระยะเวลา ฯลฯ
        - อะไหล่ทั่วไป ซึ่งจะเปลี่ยนเมื่อตรวจพบว่าชำรุด
        - อะไหล่ตัวถัง
    3.4 ความทนทาน : ยิ่งซื้อรถไปเพื่อใช้งานหนัก หรือใช้มากเท่าใด ความทนทานก็ยิ่งมีความสำคัญมากเท่านั้น เพราะจะมี ผลอย่างมากต่อค่าใช้จ่าย และเวลาที่ต้องเสียไปกับการซ่อมบำรุงหากต้องการทราบว่ารถรุ่นไหนยี่ห้อไหน มีความทนทานมาก วิธีที่ง่ายก็คือ การสอบถาม จากผู้มีประสบการณ์หากเป็นรุ่นใหม่ในตลาดก็คงต้องดูที่ยี่ห้อว่าเป็นผู้ผลิต รถที่มี ความทนทานหรือไม่ นอกจากนี้สำหรับผู้เชี่ยวชาญทางวิศวกรรมยานยนต์ ก็อาจพอบอกได้จากการออกแบบ
    3.5 การดูแลและการบำรุงรักษาด้วยตนเองหรือคนสนิท : เลือกรถที่สามารถดูแล และบำรุงรักษา ตลอดจนซ่อมบำรุงได้ด้วยตนเอง หรือ โดยคนสนิทที่คิดค่าใช้จ่ายถูกๆ ก็จะช่วยให้ประหยัดได้ไม่น้อย
    3.6 ราคาขายต่อมือสอง : จะมีความสำคัญขึ้นมาเมื่อท่านต้องการเปลี่ยนรถ

4. การบริการหลังการขาย
    4.1 มีศูนย์บริการอยู่ทั่วไป, หาง่าย, มีการบริการที่ดีได้มาตรฐาน และ ซื่อสัตย์
    4.2 ความพร้อมของอะไหล่ : อะไหล่หาง่ายไม่ต้องรอนาน มีครบทุกชิ้น ในขณะที่มีรถบางรุ่นอาจต้องรออะไหล่เป็นเดือน
    4.3 เงื่อนไขการรับประกัน ระยะเวลา และความสะดวกในการทำเคลม
    4.4 การดูแลเอาใจใส่ของตัวแทนจำหน่าย และพนักงานขายหลังจากซื้อรถมาแล้ว ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการหลังการขาย คงต้องมาจากประสบการณ์ของท่าน ของคนรู้จัก หรือ อ่านจากหนังสือต่างๆ หรือ ภาพพจน์ชื่อเสียงที่ผ่านมา

5. ความชอบและความพอใจของผู้ซื้อ สำหรับข้อนี้ก็แล้วแต่ผู้ซื้อครับ

สำหรับ"แม่"น้อยกว่านี้ได้ยังไง

สำหรับแม่น้อยกว่านี้ได้อย่างไร  โดย  รักความหมายของดอกมะลิ
   แม่ครับ  ผมขอโทษที่ผมถกเถี่ยงแม่มาและไม่เชื่อฟังแม่
ไม่ฟังคำสั่งสอนของแม่ และต่อจากนี้ไปผมจะเชื่อฟังแม่  ไม่ถกเถี่ยงแม่
และผมจะตั้งใจเรียนหนังสือ  อ่านหนังสือมากๆ จะทำให้แม่ภาคภูมิใจใน
ตัวผม และ ผมจะขอสัญญากับแม่ตั้งแต่  วันนี้เป็นต้นไป

- ผมจะดูแลน้องให้ดี
- ผมจะตั้งใจอ่านหนังสือให้มากๆ
- ผมจะสอบนายร้อยให้ได้ แล้วโตมาผมจะดูแลแม่ให้ดีกว่าแม่ดูแลผม
- ผมจะช่วยทำความสะอาดบ้านช่วยแม่
- ผมจะขยันและไม่ขี้เกียจ
- ผมจะเป็นคนดีของพ่อและแม่

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีเลือกซื้อกล้อง

  1. งบประมาณ ก่อนอื่นต้องมาดูกันว่า คุณจะตั้งงบไว้สักเท่าใด ในการหาซื้อกล้อง ดิจิตอลสักตัว เพราะราคาในตลาดมีตั้งแต่กล้องแบบง่ายๆ ราคาไม่กี่พันบาท ซึ่งทำ อะไรไม่ได้มากนัก ที่พอใช้ได้จะเริ่มจากหมื่นต้นๆ ไล่เรียงลำดับไปตามสเปค และ คุณภาพที่ดีขึ้น จนถึงหลักแสนหรือหลายๆ แสน เมื่อตั้งงบไว้แล้วเช่น สองหมื่นบาท ก็มองหาเฉพาะกล้องที่อยู่ในงบของเรา รุ่นที่มีราคาสูงกว่า คงไม่ต้องนำมาพิจารณา ให้ปวดหัว


     
  2. เซ็นเซอร์ภาพ ถ้าดูตามสเปคมักจะ เขียนว่า Image sensor หรือ Image recording พูดง่ายๆ ก็คือ อุปกรณ์ ที่ใช้รับภาพแทนฟิล์มนั่นเอง บางยี่ห้อใช้ CMOS แต่ส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดใช้ CCD ขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง แต่ใหญ่กว่าย่อมได้เปรียบ เพราะเก็บรายละเอียดได้มาก แต่ราคาก็แพงกว่า อาจจะดูจากสเปคว่าใช้ CCD ขนาดเท่าใดเช่น 1/1.8 นิ้ว, 1/2.7 นิ้ว หรือ 2/3 นิ้ว (วัดตามแนวทแยงมุม)

     
  3. ความลึกของสี หรือ Bit Depth บางทีก็เรียก Color Depth ยิ่งมีความลึกของสีมากเท่าใด ก็จะเก็บรายละเอียด ของเฉดสีได้ดีมากขึ้น เช่น 10 บิต/ สี หรือ 12 บิต/สี หมายความว่า สีธรรมชาติ มี 3 สีคือ RGB ถ้า 1 สี แสดงได้ 13 บิต 3 สีก็จะได้ 36 บิต เป็นต้น ถ้าเป็นกล้องระดับไฮเอนด์ อาจจะทำได้ถึง 16 บิต/สี หรือ 48 บิตที่ RGB นั่นก็เทียบเท่ากับฟิล์ม สไลด์ดีๆ นี่เอง แต่ไม่รู้ว่าทำไมมีกล้องบาง ยี่ห้อ บางรุ่นเท่านั้น ที่เปิดเผยว่ากล้องของตัวเอง มีระดับความลึกของสีเท่าใด ยิ่งถ้าเป็นกล้องที่สเปคต่ำเช่น 8 บิต/สี (อันที่จริงก็เยอะแล้ว เพราะ จะได้ 24 บิตที่ RGB แสดงสีได้ 16.7 ล้านเฉดสี) แทบไม่อยากจะพูดถึงกันเลย แต่ถ้ากล้องระดับโปร มักจะโชว์ตัวเลขให้เห็นจะๆ เลยว่าใครได้มากกว่ากัน การที่เฉดสีน้อย จะทำให้การแยกสีไม่ดีเท่าที่ควร เช่น กลีบดอกไม้สีแดงเข้ม แดงปานกลางและแดงอ่อน ดูด้วยตาเปล่า ก็ไล่เฉดสีกันดี แต่ถ่ายออกมากลายเป็นสีแดงสีเดียว ถ้าใช้ฟิล์มสไลด์จะได้ใกล้เคียงกับที่ตาเห็น (สไลด์โปรจะทำได้ดีกว่า)

     
  4. ดูความละเอียดต้องดูที่ Effective เวลาซื้อกล้องดิจิตอล เรามักจะได้ยินคน บอกว่า ตัวนี้ 3 ล้านพิกเซล ตัวนี้ 4 ล้านพิกเซล แต่ส่วนใหญ่ เป็นความละเอียดของเซ็นเซอร์ภาพ ขนาดภาพจริงจะน้อยกว่านั้น ลองดูสเปคในคู่มือ หรือโบรชัวร์ หาคำว่า Effective ซึ่งก็คือขนาดภาพจริงๆ ที่จะได้ เช่น ในโบรชัวร์บอกว่า 5.24 ล้านพิกเซล แต่ตามสเปคระบุชัดว่า ขนาดภาพใหญ่สุดที่ได้คือ 2560 x 1920 พิกเซล ถ้าคูณดูก็จะได้ 4.9 ล้านพิกเซล เป็นต้น

     
  5. Interpolate ในกล้องบางรุ่น ถ้า เราดูที่ขนาดภาพตามสเปค อาจจะแปลกใจ เพราะคูณออกมาแล้ว ได้ความละเอียดมากกว่าเดิมเช่น CCD 3 ล้านพิกเซล แต่ได้ขนาดภาพถึง 6 ล้านพิกเซล ทั้งนี้เป็นเพราะ มีการใช้เทคโนโลยีบางอย่าง เพิ่มความละเอียดให้สูงขึ้นนั่นเอง เช่น Super CCD ของ Fuji หรือ HyPict ของ EPSON เป็น ต้น แต่คุณภาพจะดีไม่เท่ากับความละเอียดแท้ๆ ของ CCD แต่ก็จะดีกว่ากล้องรุ่นที่มีความละเอียดแบบ Effective เท่ากัน อย่างไรก็ตามก็นับว่า เป็นการเพิ่มคุณภาพให้ดีกว่าเดิม โดยใช้เทคโน โลยีมาช่วย ต่างกับการนำภาพ ไปเพิ่มความละเอียด ด้วยซอพท์แวร์เช่น Adobe Photo shop ซึ่งคุณภาพจะแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเพิ่มความละเอียดถึง 1 เท่าแบบนี้ วิธีการนี้เรามักจะเรียกกันว่า Interpolate ซึ่งกล้องที่มีฟังก์ชั่นเหล่านี้ จะมีเมนูให้เลือกว่าจะใช้หรือไม่

     
  6. ปรับลดขนาดภาพ แม้ว่ากล้องที่มี ความละเอียดสูงจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องไม่ลืมว่า ขนาดไฟล์ที่ได้จะใหญ่มาก กินแมมมอรี่ในการ์ดมาก ถ้าการ์ดความจุน้อยๆ เช่น 16 MB ใช้กล้อง 3 ล้านพิกเซล ถ่ายไปไม่กี่ภาพก็เต็มแล้ว ต้องใช้การ์ดที่มีความจุสูงๆ บางครั้งเราต้องการเพียงแค่ บันทึกเตือนความจำ หรือใช้ส่งอีเมล์ หรือไม่ก็ใช้ประกอบเวบไซต์ ซึ่งต้องมาลด ความละเอียด ด้วย Photoshop หรือโปรแกรมอื่นๆ ให้เหลือ แค่ 640 x 480 พิกเซล หรือเล็กกว่านั้น แต่กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่ จะเลือกขนาดภาพได้หลายแบบ เพื่อให้เหมาะกับงาน ที่จะนำไปใช้ เช่นกล้อง Olympus E-20 เลือกขนาดภาพได้ 5 ระดับ เล็กสุดที่ 640 x 480 พิกเซล เป็นต้น

     
  7. การตอบสนองหรือ Response อันนี้ กล้องดิจิตอลเกือบทั้งหมด ไม่ยอมระบุไว้ใน สเปคกล้องของตัวเอง ยกเว้นกล้องคอมแพค ระดับไฮเอนด์ หรือดิจิตอล SLR จะถือว่าเป็นจุดเด่น เอามาคุยไว้ในโบรชัวร์กันเลยครับ บางรุ่นตอบสนองตั้งแต่ เปิดสวิตซ์กล้องแล้ว พร้อมที่จะกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งวินาที แทบไม่ต่างกับกล้อง ออโต้โฟกัส 35 มม.ที่ใช้ฟิล์มทีเดียว ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกว่า ใช้กล้องดิจิตอลหรือใช้ฟิล์ม อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้มีการพัฒนา ที่ดีขึ้นตามลำดับ ต่อไปกล้องดิจิตอลราคาประหยัด ก็จะมีการตอบสนอง ที่รวดเร็วไม่แพ้กล้องไฮเอนด์ ที่มีราคาแพง

     
  8. Buffer ยิ่งมากยิ่งดี การที่มีบัฟเฟอร์ หรือหน่วยความจำในตัวกล้องมากๆ จะ ช่วยให้การถ่ายภาพ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว กล่าวคือ หลังจากที่เรากดชัตเตอร์ ถ่ายภาพไปแล้ว ข้อมูลภาพ ที่ผ่านอิมเมจโปรเซสซิ่ง จะถูกพักเก็บไว้ก่อนด้วยบัฟเฟอร์ ก่อนที่จะบันทึกลงในการ์ดต่อไป (ขณะบัน ทึกมักใช้ไฟสีเขียวหรือสีแดง กระพริบเตือนให้ทราบ) วิธีนี้ทำให้เราถ่ายภาพต่อไปได้เลย ไม่ต้องรอบันทึกลงการ์ดให้เสร็จเสียก่อน ถ้าบัฟเฟอร์เยอะ ก็จะถ่ายต่อเนื่อง ได้ เร็วและได้หลายๆ ภาพติดต่อกัน เช่น สเปคกล้องระบุว่า ถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว 3 ภาพต่อวินาที ติดต่อกันรวดเดียว 10 ภาพ หมายถึงว่าถ้าครบ 10 ภาพจะกดชัตเตอร์ต่อไม่ได้ เพราะบัฟเฟอร์เต็มแล้ว ต้องรอให้บันทึกลงการ์ดก่อน เมื่อมีที่ว่างเหลือพอก็จะถ่ายภาพต่อได้อีก โดยไม่ต้องรอให้เก็บภาพ ลงการ์ดครบทั้ง 10 ภาพก่อน และการที่มี บัฟเฟอร์มากเมื่อกดชัตเตอร์ไปแล้ว สามารถเปิดดูภาพซูม ขยายดูส่วนต่างๆ ของภาพหรือลบภาพทิ้งได้ทันที แทบไม่ต้องรออะไรเลย

     
  9. ไฟล์ฟอร์แมท RAW กล้องระดับ ไฮเอนด์ที่มีความละเอียดสูง จะมีฟอร์แมทที่ เรียกว่า RAW ให้เลือกนอกเหนือจาก JPEG หรือ TIFF ทั้งนี้เพราะในฟอร์แมท RAW จะเก็บข้อมูลความลึกของสีได้ดีกว่า เช่นดิจิตอล SLR ของ Nikon รุ่น D1x ในไฟล์ ฟอร์แมท RAW จะได้ 12 บิต/สี แต่ถ้าเป็น JPEG จะเหลือ 8 บิต/สี เป็นต้น และยังมีไฟล์ขนาดเล็กกว่าฟอร์แมท TIFF โดยที่คุณภาพไม่ได้ลดลงเหมือนกัน แต่การเปิดชมภาพ ต้องใช้กับซอพท์แวร์ ที่มาพร้อมกับกล้องเท่านั้น ไม่สามารถเปิดจากโปรแกรม Adobe Photoshop หรือโปรแกรมตกแต่ง ภาพอื่นๆ นอกจากนี้ภาพในฟอร์แมท RAW ยังสามารถปรับแต่ง หรือ แก้ไขภาพ ที่ถ่ายมาไม่ดีให้ดี เหมือนกับการถ่ายภาพใหม่อีกครั้ง เช่น การปรับภาพให้สว่างหรือมืดลง หรือ การปรับไวท์บาลานซ์ เป็นต้น สำหรับคอม แพคดิจิตอลในปัจจุบันมีหลายรุ่นที่มีฟอร์ แมท RAW เช่น Canon PowerShot G3, Nikon Coolpix 5700 เป็นต้น

     
  10. ไวท์บาลานซ์หรือสมดุลย์แสงขาว ฟังก์ชั่นนี้มีในกล้องดิจิตอลทุกรุ่น ซึ่งที่ผ่านมาเราจะรู้จัก ไวท์บาลานซ์ในกล้องวีดีโอ ซึ่ง ใช้ CCD รับภาพเช่นกัน ส่วนใหญ่จะมี ระบบปรับไวท์บาลานซ์อัตโนมัติ ทำให้ภาพ ถ่ายมีสีสันถูกต้อง ไม่ว่าจะถ่ายภาพกลางแจ้ง หรือสภาพแสงอื่นๆ ที่มีอุณหภูมิสีแตกต่างกัน ถ้าเป็นกล้องใช้ฟิล์ม ซึ่งสมดุลย์กับแสงกลางวัน ที่มีอุณหภูมิสี 5000-5500 องศาเคลวิน จะได้ภาพที่มีสีถูกต้อง เมื่อถ่ายภาพด้วยแสงกลางวัน หรือ แสงแฟลชเท่านั้น ถ้าอยู่ในที่ร่มอุณหภูมิสีจะสูงภาพจะมีโทนสีฟ้า หรือช่วงเย็นอุณหภูมิสีต่ำ ภาพจะมีโทนสีส้มแดง แต่กล้องดิจิตอล จะให้สีถูกต้องเสมอ และยังมีระบบ Preset ให้ปรับตั้งตามสภาพแสงแบบต่างๆ อีก แต่ละรุ่นเลือกได้ไม่เท่ากัน เช่น แสงดวงอาทิตย์ แสงในที่ร่ม แสงจากไฟฟลูออเรส เซ้นท์ในอาคาร แสงไฟทังสเตน เป็นต้น กล้องบางรุ่น มีระบบถ่ายภาพคร่อมไวท์บาลานซ์ โดยจะถ่ายภาพ 3 หรือ 5 ภาพติดต่อกัน แต่ละภาพ มีการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิสีที่แตกต่างกัน จากนั้นเลือกเก็บไว้ เฉพาะภาพที่มีโทนสีถูกต้อง สมจริงมากที่สุด หรือจะปรับแก้อุณหภูมิสี ด้วยซอพท์แวร์ที่แถมมา พร้อมกับกล้องก็ได้

     
  11. กล้องคอมแพคดิจิตอลรุ่นเล็ก ราคาประหยัด จะใช้เลนส์เดี่ยว ซูมไม่ได้ เช่น 35 มม. ดีขึ้นมาหน่อยจะซูมได้ 2-3 เท่า เช่น 35-70 มม. หรือ 35-105 มม. เป็นต้น ตัวเลขนี้เป็นการเทียบกับกล้องใช้ฟิล์ม 35 มม. แต่ถ้าดูที่ตัวเลนส์จริงๆ จะระบุตัวเลขน้อยกว่ามาก ทั้งนี้เพราะ CCD ขนาด เล็กกว่าฟิล์มมากนั้นเอง เช่น Minolta Dimage 7i หรือ 7Hi ใช้เลนส์ 7.2-50.8 มม. เทียบเท่ากับ 28-200 มม. ถ้าเป็นเลนส์ซูมที่เริ่มต้นด้วยมุมกว้างมากกว่า จะใช้ประโยชน์ในที่แคบๆ ได้ดีกว่า เช่น เริ่มที่ 28 มม. หรือ 30 มม.

     
  12. ดิจิตอลซูม ลูกเล่นที่มีก็ดีไม่มีก็ ไม่เป็นไร เวลาดูโฆษณา กล้องดิจิตอลว่า ซูมได้มากน้อยแค่ไหน ให้ดูที่ Optical Zoom ซึ่งจะบอกไว้ในสเปค เช่น 3X ก็คือ 3 เท่า นับจากเลนส์ช่วงกว้างสุด เช่น 30-90 มม. และบอกต่อว่ามีดิจิตอลซูม 2X รวมแล้วซูมได้ 6X คือ 30-180 มม. แต่ในความเป็นจริงช่วงซูมที่ดิจิตอลสูงสุด 180 มม. นั้น ขนาดภาพจะเล็กลงด้วย เช่น ความละเอียด 3 ล้านพิกเซล ถ้าซูมที่ดิจิตอลจะเหลือแค่ 1.5 ล้านพิกเซล เป็นต้น ไม่ใช่ว่าซูมได้มากๆ โดยที่ความละเอียดเท่าเดิม หากคุณใช้ Optical ซูม 3 เท่า ถ่ายภาพที่ 3 ล้านพิกเซล แล้วเอารูปมา ครอปหรือตัดส่วนให้เหลือ 1.5 ล้านพิกเซล เท่ากับว่ารูปนั้นถูกถ่ายด้วยเลนส์ซูม 6 เท่าเช่นกัน แต่ถ้าใช้ดิจิตอลซูม ตั้งแต่แรก ก็จะสะดวกขึ้นบ้าง ตรงที่ไม่ต้องมาตัดส่วนภาพทีหลัง และกล้องดิจิตอล บางรุ่น เมื่อใช้ดิจิตอลซูม คุณภาพจะไม่ลดลง (ลดแต่ขนาดภาพ) ต่างกับกล้องวีดีโอ ยิ่งซูมดิจิตอลมากเท่าไหร่ก็หยาบมากขึ้น เพราะเอาภาพที่มีอยู่แล้ว มาขยายใหญ่นั่นเอง แต่บางรุ่นใช้วิธีตัดส่วนภาพแล้วขยายไฟล์ ให้มีขนาดใหญ่เท่าเดิม วิธีนี้คุณภาพ จะลดลงแน่นอน

     
  13. จอมอนิเตอร์ อยากจะเรียกว่า อุปกรณ์เปลืองแบตเตอรี่ เพราะส่วนนี้ใช้ พลังงานจากแบตเตอรี่มาก ขนาดไม่ได้ใช้เปิดจอทิ้งไว้ไม่นาน แบตเตอรี่ที่ซื้อมาใหม่ หรือชาร์จมาเต็มๆ ก็หมดลงอย่างรวดเร็ว กล้องดิจิตอลที่ดี ควรจะปรับความสว่างได้ และแสดงสีได้ถูกต้องตามธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการสีกับคอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์ภาพสีเป็นไปอย่างราบรื่นถูกต้องตรงกันมากที่สุด จอมอนิเตอร์ ที่ให้สีผิดเพี้ยน (แม้ว่าภาพจะให้สีถูกต้อง เมื่อเปิดจากคอม พิวเตอร์) จะดูแล้วชวนหงุดหงิดคิดว่า รูปจะออกมาเพี้ยนตามจอ อย่าลืมดูสเปคด้วยว่า มีฟังก์ชั่นซูมภาพที่ถ่ายไปแล้วได้หรือไม่ และซูมขยายภาพได้มากน้อยแค่ไหน ยิ่งมากยิ่งดี ถ้าได้ถึง 100% จะดีที่สุด เพราะเห็นภาพ ได้เต็มๆ ว่าแต่ละจุดคมชัดแค่ไหน ระยะชัดลึกครอบคลุมหมดหรือเปล่า ถ้าไม่ดีจะได้ถ่ายใหม่ กล้องบางรุ่น เช่น Sony DSC-F717 ออกแบบให้พลิกตัวกล้องกับเลนส์ได้ ทำให้สะดวกในการถ่ายภาพมุมสูง หรือ มุมต่ำ บางรุ่นพลิกหมุนได้รอบ เช่น Canon G3 กล้องบางรุ่น ใช้จอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่มาก เช่น 2.5 นิ้ว ในขณะที่ส่วนใหญ่ มีขนาดเพียง 1.5 หรือ 2 นิ้ว ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนกว่า บางรุ่นแถมฮูดบังแสงมาให้ด้วย โดยออกแบบเป็น บานพับ เช่น Panasonic DMC-LC5 หรือ Fujifilm FinePix M603 เป็นต้น

     
  14. บันทึกเสียงลงในไฟล์ภาพได้ ลูก เล่นนี้มีเฉพาะในกล้องบางรุ่นเท่านั้น ส่วนใหญ่ จะบันทึกได้นาน 5-15 วินาที ซึ่งก็พอเพียงกับการเตือนความทรงจำต่างๆ สามารถเปิดฟังก็ได้เ มื่อใช้โหมดเปิดชมภาพ จากจอมอนิเตอร์ หรือ จากคอมพิวเตอร์

     
  15. Optical Viewfinder ในเมื่อการ ดูภาพจากจอมอนิเตอร์สิ้นเปลืองแบตเตอรี่มาก เราก็ควรมาดูภาพจากจอแบบออฟติคัล แทน เพราะใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากการซูมให้สัมพันธ์ กับทางยาวโฟกัสของเลนส์ แต่กล้องบางรุ่น ไม่มีช่องมองภาพแบบนี้มาให้ จึงควรดูสเปคให้ดีด้วย ข้อเสียของช่องมองภาพ ออฟติคัล คือ ไม่ได้มองภาพผ่านเลนส์ เวลาถ่ายภาพใกล้ จะเกิดการเหลื่อมล้ำกัน ต้องดูภาพด้านบน ไม่ให้เกินเส้นขีดที่แสดงไว้ ถ้าต้องถ่ายภาพใกล้ ก็อาจใช้วิธีดูภาพ จากจอมอนิเตอร์แทนจะดีกว่า แต่กล้องบางรุ่น จอมอนิเตอร์มีไว้เพื่อดูภาพที่ถ่ายไปแล้ว กับดูเมนูต่างๆ เท่านั้น

     
  16. วีดีโอคลิป กล้องถ่ายภาพนิ่ง ดิจิตอลแบบคอมแพคส่วนใหญ่ ถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย รูปแบบคล้ายกับกล้องวีดีโอ แต่มักมีภาพขนาดเล็กมาก เช่น 320 x 240 พิกเซล แต่บางรุ่นเช่น Fuji FinePix S602 หรือรุ่น M603 ถ่ายวีดีโอได้ขนาด 640 x 480 พิกเซล หรือขนาด VGA เท่า กับกล้องวีดีโอทั่วไป บางรุ่นถ่ายภาพเคลื่อน ไหวอย่างเดียว แต่บางรุ่นบันทึกเสียงได้ด้วย ฟอร์แมทภาพมีทั้งแบบ MPEG และ Quick Time โดยถ่ายภาพที่ความเร็ว 10-15 ภาพ/ วินาที ขนาดไฟล์เล็กมาก เหมาะสำหรับ ใช้ส่งภาพไปทางอีเมล์ ภาพที่ได้จะดูกระตุกนิด หน่อย สำหรับรุ่นที่สเปคระบุว่า ถ่ายวีดีโอที่ ความเร็ว 30 เฟรม/วินาที ภาพจะดูนุ่มนวล เป็นธรรมชาติ ไม่ต่างกับกล้องวีดีโอทั่วๆ ไป และส่วนใหญ่จะถ่ายเป็นวีดีโอคลิปสั้นๆ ไม่เกิน 30 หรือ 60 วินาทีต่อครั้ง บางรุ่นถ่าย ภาพได้นานตามจำนวนความจุของการ์ด

     
  17. ระบบโฟกัส กล้องดิจิตอลเกือบ ทุกรุ่นเป็นระบบออโต้โฟกัส ทำงานได้รวด เร็วไม่แตกต่างกันมากนัก บางรุ่นมีจุดโฟกัสเฉพาะตรงกลางภาพ แต่บางรุ่นมี 3 หรือ 5 จุด กระจายอยู่ทั่วทั้งภาพ ไม่ว่าตัวแบบ หรือสิ่งที่ต้องการจะอยู่ในตำแหน่งใด ก็จะ ปรับโฟกัสได้อย่างแม่นยำ โดยกล้องจะเลือกจุดโฟกัสอัตโนมัติ หรือเลือกเองก็ได้ แต่บางครั้งเราจำเป็นต้องใช้ระบบแมนนวลโฟกัส เพื่อผลพิเศษบางอย่าง ระบบแมนนวลโฟกัส มักจะให้เลือกตัวเลขระบุระยะโฟกัสเอง ซึ่งผิดพลาดได้ง่าย กล้องบางรุ่นมีวงแหวนหมุนปรับโฟกัส จะแม่นยำกว่า คล้ายกับกล้อง SLR นอกจากนี้มีโหมดอินฟินิตี้ (สัญลักษณ์รูปภูเขา) สำหรับการถ่ายภาพสิ่งที่อยู่ระยะไกล กล้องจะถ่ายภาพได้เร็วขึ้นเพราะไม่ต้องปรับหาโฟกัสอีก และควรพิจารณา ดูโหมดถ่ายภาพมาโครด้วยว่า มีหรือไม่ แม้ว่ากล้องบางรุ่น จะระบุว่าถ่ายได้ใกล้สุดเพียงไม่กี่เซ็นติเมตร แต่เป็นการถ่ายภาพที่ช่วงซูมมุมกว้าง (เหมือนกล้องวีดีโอ) ซึ่งใช้ประโยชน์ได้ไม่ดี เท่ากับมาโครที่ช่วงเทเล ลองซูมเลนส์ที่ช่วงเทเลดู แล้วถ่ายภาพใกล้ๆ ดูว่าได้มากน้อยแค่ไหน

     
  18. ระบบแฟลช กล้องคอมแพค ดิจิตอลส่วนใหญ่มีแฟลชขนาดเล็กในตัว ทำงานอัตโน มัติ เมื่อแสงน้อยเกินไป และมีระบบแฟลช กับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ทำให้การใช้แฟลช ถ่ายภาพเวลากลางคืน ฉากหลังไม่ดำทึบ หรือระบบสัมพันธ์แฟลช ที่ม่านชัตเตอร์ที่สอง เพื่อการใช้เทคนิคพิเศษถ่ายภาพ เคลื่อนไหว ระบบแฟลชแก้ตาแดง เมื่อใช้ถ่ายภาพคน ในระยะใกล้ แบบตรงๆ แต่จะดีมากถ้าสามารถใช้แฟลชภายนอกได้ ซึ่งกล้องบางรุ่นจากผู้ผลิตกล้องใช้ฟิล์ม เช่น Canon PowerShot G3, Minolta Dimage 7Hiและ Nikon CoolPix 5700 จะมีฮอทชูเสียบแฟลชมาด้วย สำหรับนำแฟลชของกล้อง 35 มม. มาใช้ เป็นการเสริมประสิทธิภาพของกล้องให้สูงมากยิ่งขึ้น

     
  19. ระบบบันทึกภาพ สำหรับฟังก์ ชั่นการถ่ายภาพจะไม่แตกต่างกับกล้องใช้ฟิล์มมากนัก ส่วนใหญ่มีระบบโปรแกรมอัตโนมัติเป็นหลัก โดยกล้องจะเลือกค่าความเร็วชัตเตอร์ และรูรับแสงที่เหมาะสม ถ้าแสงน้อยก็จะปรับความไวแสงให้สูงขึ้น (เลือกโหมดความไวแสงที่ออโต้) ทำให้ใช้งานง่าย ถ้าหากคุณมีความรู้เรื่อง เทคนิคการถ่ายภาพ ก็อาจใช้โหมดออโต้ชัตเตอร์ ออโต้รูรับแสง หรือแมนนวล และในระบบอัตโนมัติยังมีฟังก์ชั่นปรับชดเชยแสง กรณีที่ต้องถ่ายภาพย้อนแสง หรือ ภาพที่มีฉากหลังมืดทึบ เพื่อให้ได้ภาพที่มีแสงพอดี นอกจากนี้ยังมี ระบบถ่ายภาพคร่อม โดยกล้องจะถ่ายภาพต่อเนื่อง 3 หรือ 5 ภาพ ในแต่ละภาพ มีค่าแสงที่แตกต่างกัน ตามที่กำหนดไว้ บางรุ่นมีระบบถ่ายภาพซ้อนด้วยเพื่อสร้างสรรค์ ภาพพิเศษบางอย่าง

วิธีเลือกซื้อโน๊ดบุ๊ค

สิ่งควรรู้ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
(เลือกคอมพิวเตอร์อย่างไรให้ตรงกับการใช้งานมากที่สุด)



สำหรับหลายๆ คนแล้ว การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องน่าปวดหัว คุณอาจจะคิดว่าเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี โดยขอคำแนะนำจากเพื่อนๆ หรือศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือเวบไซต์มาแล้ว แต่พอคุณไปถึงร้าน พนักงานขายที่พร้อมให้คำแนะนำเพิ่มเติมอื่นๆ อีกมากก็อาจทำให้งงมากขึ้น

การศึกษาหาข้อมูลให้มากที่ สุดนั้นเป็นสิ่ง ที่ดี แต่บางครั้งคำแนะนำจากคนอื่นอาจทำให้คุณหลงลืมวัตถุประสงค์ของตัวเองในการ ซื้อคอมพิวเตอร์ คนที่จะเป็นผู้ใช้งานเครื่องคอมพ์ที่คุณจะซื้อก็คือตัวคุณเอง ไม่ใช่เพื่อน สื่อโฆษณาต่างๆ หรือพนักงานขาย แต่คือคุณ ฟังดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่คุณอาจแปลกใจว่ามีคนจำนวนมากเลยทีเดียวที่ลืมข้อสำคัญในการเลือกซื้อ คอมพิวเตอร์ข้อนี้ไป

คุณใช้คอมพ์ทำอะไร
สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือคิดให้ดีก่อนว่าคุณต้องการ ใช้คอมพ์ทำอะไร บ้าง ลองถามตัวเองว่าคุณเป็นนักเล่นเกมส์ตัวยง หรือชอบใช้งานเกี่ยวกับมัลติมีเดียต่างๆ คุณอยากได้คอมพ์ที่มีภาพคมชัดพอๆ กับประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง หรืออยากได้คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานไม่ค่อยบ่อย คุณต้องการคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหรือโน้ตบุ๊กก็ไม่ต่างกัน คุณทำงานอะไรและชอบทำอะไรในเวลาว่าง คุณชอบติดตามข่าวสารต่างๆ หรือดูวิดีโอแม้แต่ในเวลาเดินทางรึเปล่า

คุณเท่านั้นที่จะตอบคำถามพวกนี้ได้

แต่ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร เรามาลองดูคำถามที่มักจะพบบ่อยที่สุดเวลาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับความต้องการของคุณ



แท็บเบล็ต สมาร์ทโฟน เน็ตบุ๊ค หรือ พีซี จะซื้อแค่เครื่องเดียวหรือต้องมีทั้งหมด
แท็บเบ็ลต สมาร์ทโฟน และเน็ตบุ๊ค เป็นทางเลือกที่น่าดึงดูดใจสำหรับผู้ที่ต้องการดูคอนเท้นท์ต่างๆระหว่างเดิน ทาง หรืออ่านอีเมลบนโซฟาอยู่ที่บ้าน สิ่งเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีเสริมนอกเหนือจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้คุณ สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แม้ในเวลาที่คุณไม่ได้อยู่หน้าจอคอมพ์

สมาร์ทโฟน แท็บเบล็ต และเน็ตบุ๊ค มีขนาดเหมาะสำหรับพกพา และได้รับการดีไซน์มาเพื่อตอบสนองการชมสื่อต่างๆ และการสื่อสารของคุณเพียงบางส่วนเท่านั้น  แต่ไม่ใช่สำหรับการสร้างงาน หรือการทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เพราะขนาดที่เล็กทำให้ขนาดของจอและสมรรถนะในการประมวลผลน้อยกว่าเมื่อเทียบ กับเครื่องคอมพิวเตอร์  ดังนั้นถ้าคุณต้องการถ่ายภาพ ตัดต่อภาพแชร์ภาพและวิดีโอ รวมไปถึงดูซีรี่ส์สุดโปรดบนโซฟาที่บ้าน หรือต้องเขียนอีเมล และเอกสารอื่นๆ อย่างเต็มที่ เครื่องคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊คยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

คุณต้องการประสิทธิภาพของเครื่องแค่ไหน
ซีพียู หรือที่หลายคนอาจจะเรียกว่า ชิป หรือ โปรเซสเซอร์ เป็นอุปกรณ์ชิ้นหลัก ที่มีความสำคัญที่สุดในการทำงานของคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ก็ว่าได้เพราะซีพียูเป็นตัวกำหนด ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องในทุกส่วน หากคุณกำลังมองหาเครื่องคอมพิวเตอร์สักเครื่อง คุณจำเป็นต้องเข้าใจการทำงานของซีพียู ซีพียูจะช่วยรองรับการทำงานของส่วนประกอบชิ้นอื่นๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ต่างๆ ให้ทำงานได้ราบรื่นมากยิ่งขึ้น

เมื่อคุณไปที่ร้านขาย คอมพิวเตอร์ อาจจะมีรายละเอียดอื่นๆ ที่คนขายนำเสนอและอาจจะทำให้คุณสับสนเช่น  แรม กราฟิกการ์ด หรือเมมโมรี่ของเครื่อง แต่เริ่มต้น สิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้จักคือซีพียู หรือชิปที่เป็นหัวใจหลักในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั่นเอง

หลายคนอาจชอบทำงานหลาย อย่างพร้อมกัน เช่น อ่านอีเมลไปพร้อมกับดาวน์โหลดเพลงออนไลน์และเข้าเว็บไซต์ต่างๆ คอมพิวเตอร์ของคุณจึงต้องคิดให้เร็วขึ้นและฉลาดขึ้นเพื่อให้ตรงกับลักษณะการ ใช้งานของคุณ คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ หลายรุ่นมีคุณสมบัติในการประมวลผลด้วยเทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ที่ทันสมัย เช่น เทอร์โบ บูสต์ และ Hyper-Threading ซึ่งช่วยให้คุณทำงานหลายอย่างได้พร้อมกัน อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพที่ฉลาดล้ำ เปรียบได้กับคนที่มีไอคิวสูงที่ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า ดังนั้นในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แต่ละครั้ง ถ้าคุณเลือกโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่มีการทำงานที่ฉลาด และสามารถรองรับการทำงานที่เพิ่มขึ้นได้จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากที่สุด

สิ่งที่ผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ ตัดสินใจผิดพลาด บ่อยครั้งคือ การเลือกซื้อหรือเพิ่มอุปกรณ์ส่วนอื่นๆ ที่มีราคาแพง แต่ไม่ได้คำนึงถึงอุปกรณ์หลักที่จะเป็นสมองสั่งงานของเครื่อง ทำให้ไม่สามารถใช้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างเต็มที่

ความเชื่อผิดๆ ที่มักเกิดขึ้นตอนเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
หลายคนอาจเลือกที่จะเพิ่ม แรม (RAM) หรือความจุของฮาร์ดดิสก์ที่มากขึ้น รวมทั้งซื้อแบตเตอรี่สำรองเพิ่มเติม เพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยแลกกับโปรเซสเซอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานช้าลง โดยหารู้ไม่ว่าเป็นการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพได้ อย่างเต็มที่

แรม เป็นส่วนเก็บความจำชั่วคราว ช่วยรองรับการทำงานทั่วไปของเครื่องพีซี ซึ่งสำหรับการทำงานทั่วไป แรมขนาด 4 กิกะไบต์จัดว่าเพียงพอแล้ว คุณสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ทั่วๆ ไป เล่นเกมส์ 3 มิติ ตัดต่อไฟล์วิดีโอ เข้าเว็บไซต์ เล่นเพลงจาก iTunes และทำงานเอกสารต่างๆ รวมทั้งส่งอีเมล ได้พร้อมๆ กันอย่างราบรื่น

การเพิ่มแรมจาก 4 กิกะไบต์ขึ้นเป็น 6 หรือ 8 กิกะไบต์ จะช่วยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์จะเพิ่มขึ้นหากใช้แรม 4 กิกะไบต์เท่าเดิมโดยอัพเกรดโปรเซสเซอร์ให้สูงขึ้น

นอกจากเรื่องขนาดของแรม แล้ว อาจมีเพื่อนผู้หวังดี หรือกูรูด้านไอที ที่พูดถึงความเร็วของซีพียู ซึ่งเมื่อก่อนความเร็วของซีพียูที่มีหน่วยวัดเป็นกิกะเฮิร์ตซ์เป็นตัวบ่งบอก ถึงความเร็วในการทำงาน

แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่อีก ต่อไป เทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ที่ทันสมัยช่วยให้ซีพียูสามารถทำงานได้ดีขึ้นโดยไม่ ต้องเร่งความเร็ว ด้วยเทคโนโลยีใหม่จาก อินเทล™ เทอร์โบ บูสต์ 2.0 ซึ่งมีอยู่ในซีพียู จะช่วยให้ซีพียูเร่งความเร็วได้ตามที่ต้องการ สามารถทำงานได้เร็วขึ้นในทันทีที่ต้องทำงานหนัก เช่น การประมวลผลไฟล์วิดีโอแบบไฮเดฟินิชั่น, ส่งภาพถ่ายจำนวนมาก หรือเล่นเกมส์ 3 มิติ รวมทั้งเปิดใช้แอพพลิเคชั่นอื่นๆ เพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  และปรับเข้าสู่การทำงานแบบประหยัดพลังงานในเวลาที่ใช้งานน้อย

หากคุณเป็นคนที่ชอบทำหลาย อย่างพร้อมกัน เช่น เปิดหน้าต่างทำงานทิ้งไว้กว่า 20 หน้าจนทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ค้าง การมีซีพียูที่มีความเร็วมากขึ้นก็ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ สิ่งสำคัญคือการเลือกซื้อซีพียูที่มีความสามารถในการช่วยให้คุณทำงานหลาย อย่างได้พร้อมๆ กันอย่างไม่ติดขัด ซึ่งเทคโนโลยี อย่างเช่น Hyper Threading สามารถตอบโจทย์นี้ 

ลองจินตนาการถึงเวลาที่คุณ จิบน้ำชา คุณสามารถรินน้ำชาได้ทีละแก้ว เทคโนโลยี Hyper Threading จะใช้งานคอร์หลายตัวในซีพียู โดยส่งพลังงานให้คอร์แต่ละตัวในเครื่องซีพียูสามารถทำงานได้พร้อมกัน เหมือนกับคุณมีกาน้ำชา 2 ปาก เพื่อให้รินน้ำชาได้ทีละหลายแก้ว นอกจากนี้ภายใน อินเทล™ คอร์™ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 ตัวล่าสุด เทคโนโลยี Hyper Threading ยังช่วยเพิ่มจำนวน thread ทำให้คุณสามารถทำงานได้มากถึง 8 รายการในเวลาเดียวกันอีกด้วย
   
เมื่อนำเทอร์โบ บูสต์ เทคโนโลยี มารวมกับ เทคโนโลยี Hyper Threading จะช่วยให้คุณทำงานได้มากขึ้นในเวลาที่สั้นลง ทำให้คุณไม่ต้องนั่งรอเครื่องทำงาน และจะคุณสามารถประหยัดเวลาได้สูงสุดถึง 4 ชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว

กราฟิกการ์ด ควรใช้แบบรวมอยู่ในชิปหรือแบบแยก
ผู้บริโภครุ่นใหม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ คอมพิวเตอร์ ซึ่งเกิดจากการกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่นเกมส์ ดูไฟล์วิดีโอจาก วีดีโอ หรือ ยูทูป ชมภาพยนตร์แบบบลูเรย์ ทำให้ผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ต้องการรับชมภาพแบบสมจริงและต่อเนื่องโดยไม่สะดุด กราฟิกจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์

เวลาคุณพิจารณาซื้ออุปกรณ์เสริมสำหรับคอมพิวเตอร์ ตัวเลือกที่มีคือ กราฟิกชิปแบบที่รวมอยู่ในซีพียู หรือแบบแยก ทั้งนี้ด้วยเทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ที่ผสานกราฟฟิกชิปรวมในซีพียู จะทำให้คุณสามารถรับชมภาพที่ดียิ่งขึ้น

คุณสมบัติในการรับชมภาพจาก Intel® HD Graphic ซึ่งรวมอยู่ใน อินเทล™ คอร์™ ไอ 3, อินเทล™   คอร์™ ไอ 5 และอินเทล™ คอร์™ ไอ 7 โปรเซสเซอร์ จะตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งานเพื่อความบันเทิง ด้วยภาพคมชัดและต่อเนื่อง ไม่ว่าเวลาที่คุณเล่นเกมส์ 3 มิติ หรือ ดูภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ตามปกติ สิ่งที่คุณเห็นจะดูตื่นตาตื่นใจ และเล่นโดยไม่มีสะดุดหรือติดขัด

เวลาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ การใช้กราฟิกสูงๆ กับซีพียูรุ่นเริ่มต้น ถือเป็นข้อผิดพลาดที่พบบ่อย เพราะซีพียูรุ่นเริ่มต้นๆ ยังจะคงจะมีการทำงานที่ติดขัด การจับคู่ดังกล่าวจึงไม่ช่วยให้คุณได้ประสิทธิภาพของกราฟิกอย่างเต็มที่

คุณไม่จำเป็นต้องใช้ คอมพิวเตอร์ที่มาพร้อม กับกราฟิกการด์แบบแยกรุ่นไฮเอนด์ เพื่อใช้ตัดต่อ และแชร์วิดีโอออนไลน์ หรือเข้าดูสื่อมัลติมีเดียบนเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Facebook หรือ เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี Intel® Quick Sync Video  จะช่วยย่นระยะเวลาในการตัดต่อและแชร์วิดีโอ รวมไปถึงสตรีมคอนเท้นท์ไปยังอุปกรณ์อื่น จึงเหมาะสำหรับคนที่ชอบฟังเพลง หรือดูหนังเวลาระหว่างเดินทางเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา กราฟิกการด์แบบแยกจะใช้เพื่อส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังหน้าจอทีวี ซึ่งในบางครั้งต้องใช้สายเคเบิ้ลเข้ามาเสริม แต่ด้วย Intel® Wireless Display ซึ่งรวมอยู่ในซีพียู        อินเทล™ คอร์ ™ โปรเซสเซอร์ตัวใหม่ล่าสุด ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น เพราะคุณสามารถต่ออินเตอร์เน็ตจากโน้ตบุ๊กสู่โทรทัศน์ได้ คุณสามารถนั่งรวมกันหน้าจอทีวีขนาดใหญ่ที่บ้านพร้อมเพลิดเพลินไปกับการดูบลู เรย์ และภาพยนตร์ 3 มิติ ที่มีความคมชัดระดับ 1080p จากห้องนั่งเล่นที่บ้านของคุณ

ถ้าคุณเป็นคนชอบเล่นเกมส์ 3 มิติ หรือใช้แอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม วิศวกรรม หรือแอพพลิเคชั่นอื่นที่เน้นการใช้กราฟิกดีไซน์ระดับสูง หรือเน้นการตัดต่อวิดีโอแบบมืออาชีพ คุณจะไม่ได้รับชมภาพ 3มิติอย่างเต็มที่ตามต้องการ หากซื้อกราฟิกการด์แบบแยกราคแพงแต่ไม่ซื้อซีพียูที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน สูง

จะเลือกซื้อรุ่นไหนดี
การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งเรื่องที่สำคัญ ในขณะที่เราลงทุนกับบ้านและรถ คอมพิวเตอร์มีความสำคัญเพิ่มขึ้น โดยคอมพิวเตอร์กำลังกลายเป็นศูนย์กลางของการทำงานหลายอย่างภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือเพื่อความบันเทิง ดังนั้นการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์จึงควรมีการศึกษาให้เข้าใจจนสามารถเลือกได้ เหมาะกับกิจกรรมต่างๆ และได้ประสิทธิภาพที่ตรงใจคุณ โดยเริ่มต้นที่การเลือกซีพียูที่เหมาะสมกับการทำงาน และควรเลือกเทคโนโลยีใหม่ที่สุดที่มีในขณะนั้นเพราะคุณจะใช้งานไปได้อีกนาน ถ้าคุณเลือกเทคโนโลยีที่เก่าจะทำให้คุณต้องเปลี่ยนเครื่องเร็วขึ้นเพราะ ซอฟต์แวร์ และแอพพลิเคชั่นต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด  และอย่าลืมว่าการอัพเกรดส่วนอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างแท้จริงจะเป็นการทำให้สิ้นเปลือง โดยไม่จำเป็น

เด็กเอ่ย เด็กดี


เด็กเอ้ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
เด็กเอ้ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน

หนึ่ง นับถือศาสนา สอง รักษาธรรมเนียมมั่น
สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์
สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
ห้า ยึดมั่นกตัญญู
หก เป็นผู้รู้รักการงาน เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
แปด รู้จักออมประหยัด
เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ ให้เหมาะกับการณ์สมัยชาติพัฒนา
สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา

เด็กสมัยชาติพัฒนา จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ

ทำได้
หนึ่ง นับถือศาสนา สอง รักษาธรรมเนียมมั่น
สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์
สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
ห้า ยึดมั่นกตัญญู
หก เป็นผู้รู้รักการงาน เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
แปด รู้จักออมประหยัด
เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ ให้เหมาะกับการณ์สมัยชาติพัฒนา
สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา

เด็กสมัยชาติพัฒนา จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ


วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีการเลือกไข่สด

ไข่ไก่ วัตถุดิบหลักสำหรับใช้ประกอบอาหารมีอยู่ในครัวเรือนของบ้านเกือบจะทั่วโลกไม่มีใคร ปฏิเสธว่าไม่รู้จัก เพราะเป็นอาหารยอดนิยมของคนทุกสมัย แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าไข่ไก่ที่ ี่เราซื้อมาเป็นไข่มีคุณภาพคับฟองวิธีดูไข่นั้นต้องเริ่มจากการสังเกตเปลือกไข่ก่อนไข่ที่มาจากแม่ ่่ไก่อายุมาก ( หรือไก่แก่) เปลือกไข่จะเป็นสีเหลืองชมพูสดใสเปลือกไข่บางที่ไม่ไม่เหมือนกันเนื่องมาจากพันธุ กรรมของแม่ไก่นั่นเอง หรือแม้จะตอกไข่ดูที่ไข่แดงสีก็ อาจยังไม่เหมือนกันอีกนั้นแหละเพราะอาหารที่ไก่กินแต่ ไม่ว่าจะเป็นไข่ที่มาจากไก่อ่อนหรือไก่แก่ก็ตามคุณค่าทางโภชนาการอยู่ที่เป็นไข่ไก่สด ไข่ไก่ สดไม่สด ดูได้จาก 1.สังเกตที่เปลือกไข่สดจะมีผงคล้ายแป้งฉาบติดอยู่ ไข่เก่าเปลือกจะมันลื่น ลองทดสอบดูซิว่า 2. ลักษณะเปลือกภายนอกเป็นสีนวลเพราะไข่เก่าที่จะเน่านั้น จะมีจุดสีเทาขาวๆ ดำๆ อยู่ที่เปลือก สังเกตดีๆ จะมีสีคล้ำๆ ด้วย 3.ทดสอบมีการโดยการเขย่าว่าไก่มีการคลอนๆ หรือไม่ เพราะว่าไข่สดเนื้อจะแน่นติดเปลือก มีน้ำหนักไม่สั่นคลอน เวลา ที่เขย่า 4.ถ้าขนาดไข่พอๆกัน ให้เลือกซื้อไข่ที่มีลักษระรูปร่างกลม เพราะจะมีน้ำหนักเนื้อมากกว่า 5.เลือกเปลือกไข่ที่สะอาดสะอ้านจะเหมาะสมกับการนำไปประกอบอาหารเพราะเปลือกไข่สกปรก เชื้อโรคจะแทรกซึมเข้าไปในไข่ ทำให้ไข่เสียเร็วต้องทิ้งไปก่อนใช้ประโยชน์ เป็นการสิ้นเปลือง โดยใช่เหตุ

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เปิดแอร์ 25 องศา ประหยัดไฟจริงรึป่าว

สำหรับประเทศไทยแล้ว ครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าที่ใช้ในอาคารและบ้านเรือน คือพลังงานเพื่อการปรับอากาศ ดังนั้น นอกเหนือจากการกำหนดให้อาคารที่จัดสร้างขึ้นใหม่บางประเภทต้องมีการออกแบบเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานในอาคารแล้ว การประชาสัมพันธ์ให้ เปิดแอร์ที่ 25 องศา คืออีกหนึ่งมาตรการที่มีการรณรงค์ผ่านสื่อหลายแขนงไปสู่ประชาชนทั่วไป

คำถามก็คือ 25 องศาคืออะไร ทำไมต้อง 25 องศา และ ตัวเลขนี้เหมาะกับเมืองไทยหรือไม่

ดร.จันทกานต์ ทวีกุล จากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) และอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ภาวะน่าสบาย (Thermal Comfort) คือตัวเลขของสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในอาคารที่ถูกกำหนดขึ้นในต่างประเทศ เพื่อสร้างมาตรฐานที่จะใช้ประกอบออกแบบและก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ที่จะทำให้ผู้อยู่ในอาคารหลังนั้น มีความสบายมากที่สุด โดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงานไปพร้อมกัน

ตัวเลข 25 องศาเซลเซียส คือหนึ่งในตัวเลขของมาตรฐานภาวะน่าสบายในอาคาร ที่ภายใต้มาตรฐานนี้ยังประกอบด้วยค่าอื่นๆ อีกหลายตัว เช่น ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณแสงส่องสว่าง ความเร็วลม ฯลฯ ตัวเลขทั้งหมดนี้ ไม่ได้เป็นตัวเลขที่ตายตัวสามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยมีความสัมพันธ์กันเชิงสมการที่ได้จากการทดลองและวิจัยที่มีการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในประเทศตะวันตก และได้ถูกนำมาบอกกล่าวกับคนไทยว่า เป็นตัวเลขอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยในอาคารแถบเมืองร้อน ทั้งที่ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่าเราได้กำหนดอุณหภูมิสำหรับภาวะสบายนี้ไว้ที่ 26 องศาเซลเซียส

ดร.จันทกานต์ ตั้งคำถามว่า การทำให้อุณหภูมิในห้องลงมาอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิภายนอกอยู่ที่ประมาณ 35 องศาเซลเซียส สำหรับประเทศเขตร้อนเช่นเมืองไทยนั้น ย่อมต้องหมายถึงการใช้เครื่องปรับอากาศเพียงอย่างเดียว ขณะที่การปลูกบ้านหลังคายกสูง และทำให้มีอากาศจากภายนอกที่แวดล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ไหลผ่านโดยสะดวก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาคนไทยในการสร้างที่อยู่อาศัยนั้น ก็สามารถสร้างสภาวะน่าสบายได้เองที่อุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส โดยไม่ต้องมีการใช้เครื่องปรับอากาศแต่อย่างใด ซึ่งข้อมูลภาครัฐระบุว่าการเพิ่มอุณหภูมิห้อง 1 องศาเซลเซียส จะลดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์

ดังนั้น งานวิจัยเพื่อให้เกิด องค์ความรู้ ที่จะนำไปสู่การกำหนด สภาวะน่าสบาย ที่เหมาะสมกับประเทศไทยอย่างแท้จริง ที่จะสามารถนำไปใช้เชิงนโยบายและการรณรงค์เพื่อการประหยัดพลังงาน จึงเป็นหนึ่งในข้อเสนอของการประชุมสัมมนาประจำปีของ JGSEE เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา

คำถามก็คือ สภาวะความน่าสบายที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในประเทศไทย จะอยู่ที่อุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียสได้หรือไม่ เพราะหากเป็นเช่นนั้นจริง นอกจากจะสามารถรณรงค์เพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานจากการปรับอากาศที่อุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาได้แล้ว ยังนำไปสู่ความเป็นไปได้ในการพัฒนาอาคารที่อยู่อาศัยที่สามารถสร้างสภาวะน่าสบาย โดยไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ (หรือใช้น้อยลง) ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งว่า ในฐานะนักวิชาการเราตอบไม่ได้ เพราะเรานำตัวเลยนี้มาจากต่างประเทศ แต่หากเรามีการวิจัยกันจริง ๆ ก็มั่นใจว่าจะสามารถกำหนดอุณหภูมิน่าสบายของไทยได้ ดร.อัจฉราพรรณ จุฑารัตน์ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าว

ดร.อัจฉราพรรณ กล่าวถึงงานวิจัยที่ JGSEE จะดำเนินการในช่วง 3 ปี ข้างหน้านี้ จะประกอบไปด้วยการศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดภาวะน่าสบายสำหรับประเทศไทย (Thermal Comfort for Thailand) พร้อมทั้งการพัฒนาโปรแกรมที่เมื่อใส่ค่าตัวเลขต่างๆ ในเชิงวิศวกรรมและการออกแบบลงไปแล้ว จะสามารถคำนวณตัวเลขได้ว่าอาคารหลังที่จะสร้างนั้นจะทำให้ผู้อยู่ในอาคารเกิดภาวะน่าสบายได้หรือไม่ และสุดท้ายคือการพัฒนาโปรแกรมการออกแบบอาคารที่จะสามารถทำให้สถาปนิกและวิศวกรสามารถออกแบบอาคารที่ให้ความสบายกับผู้อาศัยในอาคารโดยคำนึงถึงเรื่องการประหยัดพลังงานไปพร้อมๆ กัน

สำหรับตัวเลข 25 องศาเซลเซียสนั้น นักวิจัย JGSEE ทั้งสองท่านกล่าวว่า แม้ว่าตัวเลขอุณหภูมิของสภาวะน่าสบายแบบไทยๆ ยังไม่ออกมา แต่การใช้พัดลมร่วมกับเครื่องปรับอากาศ ก็ทำให้เราสามารถเพิ่มอุณหภูมิในห้องเป็น 26-27 องศาเซลเซียสได้โดยให้ความสบายไม่แพ้กัน แถมยังประหยัดเงินค่าไฟได้อีกด้วย